หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้ออกแบบ "กุสตาฟ ไอเฟล" ในปี พ.ศ. 2549 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้[ต้องการอ้างอิง] และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง[ต้องการอ้างอิง] ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย หอไอเฟลสูง 324 เมตร (1,063 ฟุต) หรือสูงเท่ากับตึก 81 ชั้น
เมื่อหอไอเฟลสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกแทนที่อนุสาวรีย์วอชิงตัน และได้ครองตำแหน่งนี้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ก็ได้เสียตำแหน่งให้แก่ตึกไครส์เลอร์ (319 เมตร หรือ 1,047 ฟุต) ที่เพิ่งสร้างเสร็จ หอไอเฟลเป็นสิ่งปลูกสร้างสูงที่สุดในกรุงปารีส[6] และหากไม่นับรวมเสากระจายคลื่น หอไอเฟลเป็นสิ่งปลูกสร้างสูงที่สุดอันดับสองในฝรั่งเศส รองจากสะพานมีโย
เนื้อหา |
โครงสร้าง
หอไอเฟลมีความสูง 300 เมตร (986 ฟุต) ซึ่งไม่รวม เสาอากาศ 24 เมตร (72 ฟุต) ด้านบนนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับตึกแล้วจะมีประมาณ 75 ชั้น ในขณะที่ก่อสร้างปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดบนโลก โดยถูกล้มตำแหน่งเมื่อเมืองนิวยอร์กได้สร้าง ตึกไครส์เลอร์ สูง 319 เมตร (1047 ฟุต)น้ำหนักเหล็กที่ใช้ก่อสร้างนั้นทั้งหมด 7,300 ตัน และถ้ารวมทั้งหมดก็เป็น 10,000 ตัน ส่วนจำนวนบันไดนั้นเปลี่ยนแปลงตลอด เมื่อแรกเริ่มนั้นมี 1710 ขั้น ในทศวรรษที่ 1980 มี 1920 ขั้น และในปัจจุบัน มี 1665 ขั้น
เหตุการณ์
- 10 กันยายน พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) - โทมัส เอดิสันได้เข้าชมหอไอเฟล
- พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอคอยได้สร้างเสร็จ และเป็น 1 ในสิ่งก่อสร้างในงาน EXPO
- พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) ฟ้าผ่าหอไอเฟล จึงได้มีการซ่อมยอดของหอ สูง 100 เมตร (330 ฟุต) และเปลี่ยนดวงไฟที่เสียหาย
- พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) หอเสียตำแหน่งสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก ให้แก่ตึกไครส์เลอร์
- ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1925 - 1934) ประดับไฟ 3 ด้านใน 4 ด้านของหอ
- พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) เมื่อนาซีเยอรมันสามารถยึดปารีสได้แล้ว ชาวฝรั่งเศสได้ตัดลิฟท์ออก ทำให้ฮิตเลอร์ต้อง ปีนบันได 1,665 ขั้น แต่เขาไม่ปีน เขาให้เอาธงเยอรมันไปปักไว้บนหอแทน แต่ธงผืนแรกนั้นใหญ่เกินไป ในเวลาไม่นานก็ถูกลมพัดตกลง เขาจึงเปลี่ยนให้เอาธงผืนเล็กกว่าไปปักแทน ส่วนการซ่อมลิฟท์เป็นไปได้ยากในเวลาสงคราม
- พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) เดือนสิงหาคม เมื่อฝ่ายพันธมิตรใกล้เข้ามา ฮิตเลอร์สั่ง Dietrich von Choltitz ให้เผาเมืองปารีส และหอทิ้ง แต่เขากลับฝืนคำสั่งไม่เผา หลังจากที่ ฝ่ายพันธมิตรยึดปารีสคืนได้ ลิฟท์ก็ถูกซ่อมให้ใช้งานได้ในไม่กี่ชั่วโมง
- พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) วันที่ 3 มกราคม ไฟไหม้ยอดของหอ และในปีเดียวกันนั้นก็ได้นำเสาอากาศวิทยุไปติ้งตั้งบนยอดด้วย
- ทศวรรษที่ 1980 ได้มีการเคลื่อนย้ายรื้อร้านอาหารที่เก่าแก่ในหอออก ไปสร้างใหม่ในเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา สหรัฐอเมริกาแทน
- พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ได้มีการติดตั้งโคมไฟบนยอดของหอ
- พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) วันที่ 28 พฤศจิกายน หอไอเฟลต้อนรับแขกคนที่ 200 ล้าน
- พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) วันที่ 22 กรกฎาคม ไฟไหม้ยอดของหอ ในห้องเก็บของอีกครั้ง ใช้เวลาดับไฟประมาณ 40 นาที
อ้างอิง
- ^ "The structure of the Eiffel Tower and its evolution" (ในภาษา(อังกฤษ)). Tour-eiffel.fr. http://www.tour-eiffel.fr/teiffel/uk/documentation/structure/page/structure.html?id=4_13. เรียกข้อมูลเมื่อ 24 May 2010.
- ^ "Chronology of the main construction periods" (ในภาษา(อังกฤษ)). Tour-eiffel.fr. http://www.tour-eiffel.fr/teiffel/uk/documentation/structure/page/chronologie.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 24 May 2010.
- ^ "A few statistics" (ในภาษา(อังกฤษ)). Tour-eiffel.fr. http://www.tour-eiffel.fr/teiffel/uk/documentation/structure/page/chiffres.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 24 May 2010.
- ^ (อังกฤษ) http://www.tour-eiffel.fr/teiffel/uk/documentation/pdf/about_the%20Eiffel_Tower.pdf?id=4_11
- ^ "The Tower operating company" (ในภาษา(อังกฤษ)). Tour-eiffel.fr. http://www.tour-eiffel.fr/teiffel/uk/documentation/chiffres/page/entreprise.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 24 May 2010.
- ^ "The Eiffel Tower as a World monument" (ในภาษา(อังกฤษ)). Tour-eiffel.fr. 2 April 1996. http://www.tour-eiffel.fr/teiffel/uk/documentation/chiffres/page/tour_monde.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 24 May 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของหอไอเฟล
- ภาพกล้องวงจรปิดของหอคอยไอเฟล จากเว็บ Paris-Live.com
- ภาพกล้องวงจรปิดของหอคอยไอเฟล จากเว็บ tourismeville.wanadoo.fr
- ภาพพาโนรามาของไอเฟล ในรูปแบบ QTVR
- ภาพถ่ายจากอวกาศของหอไอเฟล
- ภาพถ่ายดาวเทียมของหอไอเฟล
- ภาพสามมิติของหอคอยไอเฟล ใช้ในกูเกิลเอิร์ธ
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ หอไอเฟล
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย หรือ กูเกิลแมปส์
- แผนที่ จาก มัลติแมป หรือ โกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น