วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ธันเดอร์เบิร์ด

ธันเดอร์เบิร์ด (ตำนาน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธันเดอร์เบิร์ดบนยอดเสาอินเดียนแดง
ธันเดอร์เบิร์ด (อังกฤษ: Thunderbird) เป็นชื่อนกยักษ์ในตำนานของอินเดียนแดง ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของอเมริกาเหนือ เชื่อกันว่า ธันเดอร์เบิร์ด มีความกว้างของปีกทั้งสองข้างยาวถึง 8 เมตร และแรงกระพือของปีกเวลาบินก่อให้เกิดทอร์นาโดและฟ้าร้อง และปรากฏการณ์ฟ้าแลบนั้น เชื่อว่าเกิดจากแสงสะท้อนของแสงอาทิตย์กระทบกับตาของธันเดอร์เบิร์ด[1]
ธันเดอร์เบิร์ดเป็นนกที่ชาวอินเดียนแดงให้ความนับถือเป็นอย่างยิ่ง ถือเป็นสัตว์ที่น่าเกรงขามและศักดิ์สิทธิ์ดุจเทพเจ้าแห่งท้องฟ้า โดยมักจะประดับอยู่ที่ยอดเสาอินเดียนแดง
สันนิษฐานว่าความเชื่อเรื่องธันเดอร์เบิร์ด อาจจะมาจากนกจำพวกแร้งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ คือ แร้งแคลิฟอร์เนีย (Gymnogyps californianus) ซึ่งในอดีตเคยมีอยู่มากมาย แต่สถานะในปัจจุบันเป็นสัตว์ที่อยู่ในขั้นใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤตแล้ว
อย่างไรก็ดี ความเชื่อเรื่องธันเดอร์เบิร์ดได้กลายมาเป็นเรื่องเล่าลือเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดในหลายที่ของสหรัฐอเมริกา เช่น ในแถบตะวันตกเฉียงใต้ หรือที่รัฐเพนซิลเวเนีย โดยมีรายงานการพบเห็นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1840 จนถึงปัจจุบัน (ก่อนหน้านั้นมีการเล่าลือโดยชาวอินเดียนแดงมานับเป็นร้อย ๆ ปี) โดยลักษณะของสิ่งที่เชื่อว่าเป็นธันเดอร์เบิร์ด เป็นนกที่มีขนาดประมาณเครื่องบินขนาดเล็กหนึ่งลำ มีรูปร่างเหมือนนกอินทรีขนาดใหญ่ มีดวงตาสีดำขนาดใหญ่และมีจะงอยปากแข็งแรงมาก ขนทั้งตัวมีสีดำหรือสีเทาหรือสีน้ำตาล มีขาหนาและกรงเล็บใหญ่กว่าขนาดมือของมนุษย์เสียอีก โดยพยานผู้พบเห็นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 มักกล่าวตรงกันว่า เมื่อแรกเห็นพวกเขาเห็นเป็นเพียงเงาบินผาดผ่าน แต่เมื่อมองขึ้นไปแล้วเห็นเป็นสิ่งว่าเป็นเครื่องบินขนาดเล็ก แต่เมื่อพิจารณาอย่างชัด ๆ ขึ้นไปแล้ว พบว่าเป็นนกคล้ายนกอินทรีหรืออีแร้งขนาดใหญ่ มีขนสีดำ บินได้สูงและสง่างามโดยไม่ได้กระพือปีก แต่เมื่อกระพือแล้วก็ทำให้สูงขึ้นไปอีก ยิ่งโดยเฉพาะในปี ค.ศ. 2001 มีชายคนหนึ่งอ้างว่า ได้พบเห็นมันอย่างน้อย 20 นาที และเห็นรูปร่างของมันอย่างเต็มที่ มีความกว้างของปีกทั้งสองประมาณ 15 ฟุต และความยาวลำตัวถึง 5 ฟุต โดยเขากล่าวว่ามันเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เขาเคยเห็นมา
จากเรื่องเล่าลือนี้ ทำให้ในปี ค.ศ. 2009 ทางช่องแอนิมอลแพลนเน็ต ได้ผลิตเป็นสารคดีทางโทรทัศน์ในชื่อ Lost Tapes ความยาวชุดละประมาณ 20 นาที เกี่ยวกับสัตว์ประหลาดชนิดต่าง ๆ ที่โจมตีใส่มนุษย์ ก็มีตอนของธันเดอร์เบิร์ดนี่ด้วย (เข้าฉายในประเทศไทยในกลางปีเดียวกันทางช่องทรูวิชันส์ โดยใช้ชื่อตอนว่า Thunderbird)

ฟินิกซ์

ฟีนิกซ์ของอียิปต์โบราณ[แก้]

ฟีนิกซ์ปรากฏในปกรณัมของอียิปต์โบราณ ในฐานะของสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งคู่ควรแก่การบูชา ฟีนิกซ์เกี่ยวข้องกับเทพแห่งไฟ เพราะขนของฟีนิกซ์นั้นจะออกเป็นประกายเหลืองทองคล้ายเปลวไฟ บ้างก็ว่าปกคลุมด้วยเปลวไฟทั้งตัว
ขนาดของฟีนิกซ์จะมีขนาดเท่านกอินทรีตัวโต จงอยปากและส่วนขาเป็นสีทอง ประกายขนสีแดงถึงเหลืองทอง มีเสียงร้องที่ไพเราะดังเสียงดนตรี รูปร่างสวยสง่างาม บางครั้งมีอุปนิสัยหยิ่งผยอง บางครั้งเปี่ยมด้วยความเป็นมิตร บางความเชื่อ เชื่อว่าว่าฟีนิกซ์สามารถชุบชีวิตผู้ตายได้ และสามารถฟื้นพลังทั้งหมดให้กลับสู่ปกติได้ เนื่องจากเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตัวหนึ่งภายใต้เทพแห่งไฟ บางครั้งจะพบว่าสามารถใช้มนตร์ไฟได้ ฟีนิกซ์เป็นสัตว์ที่นิสัยอ่อนโยน เพลงของฟีนิกซ์มีเวทมนตร์สามารถกระตุ้นความกล้าหาญ แห่งจิตใจบริสุทธิ์ และทำให้เกิดความกลัวในจิตใจที่คิดชั่วร้าย น้ำตาของฟีนิกซ์มีพลังในการรักษาบาดแผลได้
ฟีนิกซ์เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นอมตะ มีชีวิตยั่งยืนนิรันดร์ เพราะสามารถฟื้นคืนชีพได้ด้วยตัวเอง เมื่อร่างกายสิ้นอายุขัย (500 ปี หรือ 1,461 ปี) ตัวจะลุกเป็นไฟ จากนั้นฟีนิกซ์ก็จะฟื้นจากกองขี้เถ้ามาเป็นนกตัวใหม่

ฟีนิกซ์ของกรีกโบราณ[แก้]

กล่าวกันว่าเรื่องราวเริ่มแรกของฟีนิกซ์มาจากวรรณกรรมกรีกโบราณที่ชื่อว่า Account of Egypt ของเฮโรโดตัส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกโบราณ (ประมาณ 430 ปี ก่อนคริสตกาล) ตามปกรณัมกล่าวว่า ฟีนิกซ์มีอายุ 500 ปี เมื่อถึงเวลาที่ใกล้จะหมดอายุขัย ฟีนิกซ์จะล่วงรู้ถึงชะตากรรม จะสร้างรังจากไม้เครื่องเทศที่มีกลิ่นหอม แล้วนั่งคอยที่กองฟืนไม้หอมและร้องเพลงอย่างสำราญใจ เมื่อแสงอาทิตย์แรกสาดส่อง ฟีนิกซ์จะแผดเผาตนเองกลายเป็นเถ้าถ่าน จากนั้นเถ้าถ่านกองนั้นฟีนิกซ์จะถือกำเนิดขึ้นใหม่ เป็นนกหนุ่ม
ภารกิจแรกที่ฟีนิกซ์หนุ่มต้องกระทำก็คือ การรวบรวมเถ้าถ่านของผู้ให้กำเนิดตัวเองแล้วนำไปฝังที่วิหารเฮลิโอโปลิส หรือนครแห่งตะวันในอียิปต์ จากนั้นก็จะบินกลับมาที่อาระเบียและใช้ชีวิตอยู่จนกว่าจะเปลี่ยนร่างอีกครั้ง
จุดกำเนิดของฟีนิกซ์ อาจมาจากคัมภีร์แห่งเวทมนตร์เล่มหนึ่งที่ชื่อว่า Book of Dead ของอียิปต์โบราณ ซึ่งกล่าวถึงนกยักษ์ลักษณะคล้ายฟีนิกซ์ นกยักษ์ตัวนี้เป็นต้นแบบของวิญญาณอิสระที่ลุกขึ้นมาจากกองเพลิง และบินไปยังเฮลิโอโปลิสเพื่อประกาศยุคใหม่ เนื่องจากดวงอาทิตย์ได้สาดแสงไล่หลังนกที่บินจากตะวันออกไปยังตะวันตก นกจึงปรากฏตัวพร้อมกับเช้าวันใหม่จนกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งไฟและดวงอาทิตย์ ไปในที่สุด
จากการที่ฟีนิกซ์สามารถเกิดใหม่ได้จากเถ้าถ่านของตัวเอง จึงกลายเป็นตัวแทนของการฟื้นคืนจากความตาย ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจให้แก่กวีและนักประพันธ์ในชั้นหลังหลายต่อหลายคน จนเรื่องราวแห่งฟีนิกซ์แทรกซึมเข้าไปอยู่ในวรรณกรรมของทวีปยุโรปหลายต่อหลายเรื่อง
นอกจากนี้แล้วยังมีอีกปกรณัมที่เล่าว่า อพอลโล เทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้เห็นความงดงามของฟีนิกซ์ จึงได้ขอให้มาเป็นนกข้างกายพระองค์ พร้อมกับให้พรวิเศษคือ ชีวิตอมตะ แก่ฟีนิกซ์เป็นการตอบแทน ซึ่งฟีนิกซ์ก็ยินดีและขับร้องเพลงสรรเสริญอพอลโล
นอกจากนี้แล้ว ในปกรณัมกรีกอีกแห่งเล่าอีกว่า ฟีนิกซ์จะอาศัยอยู่ในแถบอาระเบีย โดยจะอาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำที่มีอากาศเย็น ทุก ๆ เช้าที่ดวงอาทิตย์เริ่มส่องแสง อพอลโลจะต้องหยุดเพื่อฟังเสียงร้องอันแสนไพเราะของฟีนิกซ์ อาหารโปรดของฟีนิกซ์ ได้แก่ สายลมอ่อน ๆ, น้ำอมฤต, น้ำค้าง หรือหมอกบริสุทธิ์ที่ลอยขึ้นมาจากแม่น้ำและทะเล
ฟีนิกซ์เป็นสัตว์ที่มีนิสัยอ่อนโยน สามารถหายตัวและปรากฏตัวใหม่ตามใจนึกเช่นเดียวกับดิริคอว์ล เสียงร้องของฟีนิกซ์มีเวทมนตร์ สามารถกระตุ้นความกล้าหาญแห่งจิตใจที่บริสุทธิ์ และทำให้เกิดความกลัวในจิตใจที่คิดร้าย และน้ำตาของฟีนิกซ์ก็เป็นดังโอสถทิพย์แห่งสวรรค์ที่มีพลังในการรักษาบาดแผลและชุบชีวิตได้ แต่ถึงกระนั้นนกฟีนิกซ์ก็ยากจะหลั่งน้ำตาให้แก่ผู้ใด ยกเว้นเสียแต่ว่าคนผู้นั้นจะมีคุณงามความดีมากพอที่จะกลับมามีชีวิตใหม่อีก ครั้ง
จากความเชื่อทั้งหมดของฟีนิกซ์นี้เอง ที่ทำให้ในปกรณัมของกรีกและโรมันเชื่อว่า ฟีนิกซ์เป็นสัญลักษณ์ของการมีชีวิตเป็นอมตะ การฟื้นคืนชีพ และเกี่ยวข้องกับเทพแห่งดวงอาทิตย์ หรือแม้กระทั่งในช่วงต้นของคริสต์ศาสนาก็ได้มีการนำเอารูปฟีนิกซ์มาสลัก เป็นลวดลายบนหินปิดหลุมฝังศพ ซึ่งหมายถึงผู้ที่จากไปจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งนั่นเอง[2]

การเทียบเคียง[แก้]

ประติมากรรมฟีนิกซ์ที่ยอดหลังคาวัดคิงกะกุ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
อีกาสามขา หรือ ยะตะกะระสุ ตามปกรณัมของญี่ปุ่น
อีกาสามขา
ในปกรณัมของจีน, ญี่ปุ่น และเกาหลี อีกาสามขา (ญี่ปุ่น: 八咫烏) เป็นนกแห่งดวงอาทิตย์ ที่แรกเริ่มสร้างโลก โลกมนุษย์มีดวงอาทิตย์ปรากฏพร้อมกันถึง 10 ดวง แต่ได้ถูกโฮวอี้ยิงตกจนเหลือแค่ดวงเดียว [2] [3]
หงส์ไฟ
หงส์ไฟ (จีน: 朱雀) ในปกรณัมของจีน หงส์ไฟมีลักษณะคล้ายฟีนิกซ์มากจนเชื่อว่าน่าจะเป็นตัวเดียวกัน แต่แยกออกไปตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น หงส์ไฟมีขนสีแดงชาดเหมือนไฟ เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำทิศใต้ และเป็นสัญลักษณ์ของฤดูร้อน[2] [4]
วายุภักษ์
วายุภักษ์ หรือ นกการเวก เป็นนกที่กินลมเป็นอาหาร และมีเสียงร้องที่ไพเราะ เป็นนกในป่าหิมพานต์ บินสูงเทียมเมฆ เมื่อสรรพสัตว์ใด ๆ ได้ยินเสียงของนกการเวกก็จะหยุดชะงักไปจากเสียงอันไพเราะ ก็มีลักษณะคล้ายกับฟีนิกซ์ในปกรณัมกรีก[5] [6]
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
ฟีนิกซ์ เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในวรรณกรรมเยาวชนชุด แฮรี่ พอตเตอร์ ในภาค Harry Potter and the Chamber of Secrets และ Harry Potter and the Order of the Phoenix[7] และเป็นตัวละครในมังงะของญี่ปุ่น เรื่อง เซนต์เซย่า คือ ฟินิกซ์ อิคคิ ที่เป็นชายหนุ่มที่อยู่โดดเดี่ยว ไม่รวมกลุ่มกับคนอื่น แต่จะปรากฏตัวพร้อมกับไฟและความแค้น[8]

จิ้งจอกเก้าหาง

ปีศาจจิ้งจอกเก้าหาง (九尾の妖狐, คิวบิโนะโยโกะ) ปีศาจในตำนานญี่ปุ่น คำว่า คิว (九) หมายถึง เก้า, บิ (尾) หมายถึง หาง และ (โยโกะ) หมายถึง ปีศาจจิ้งจอก โดยสามารถหมายถึง
  • คิทซึเนะ (狐) - จิ้งจอกในนิทานพื้นบ้านของญี่ปุ่นมีพลังพิเศษต่างๆ
ตามตำนาน ปิศาจจิ้งจอกเก้าหางมีที่มาจากอินเดีย, จีน และญี่ปุ่น ซึ่งนัยว่าเป็นปิศาจตนเดียวกัน คาดว่าน่าจะเป็นเรื่องของการสืบทอดวัฒนธรรมจากอินเดียไปยังจีนตามเส้นทางสายไหม และไปยังญี่ปุ่นโดยการเผยแพรทางวัฒนธรรม


การกำเนิดจิ้งจอกเก้าหาง[แก้]

ตามตำนานกล่าวไว้ว่า จิ้งจอกเก้าหางเกิดจากปีศาจจิ้งจอกที่บำเพ็ญตบะเป็นเวลานานนับปี เมื่อมีอายุครบ 1000 ปี ปีศาจจิ้งจอกตนนั้น จะกลายเป็นปีศาจจิ้งจอก 9 หาง ปีศาจจิ้งจอกตนนั้นจะมีพลังและวิชาอาคมที่แก่กล้ามาก และสามารถแปลงร่างเป็นมนุษย์ได้

จิ้งจอกเก้าหางของอินเดีย[แก้]

ตามเรื่องเล่าที่กล่าวถึงในิทานพื้นบ้านของชาวอินเดีย มีการกล่าวถึง สัตว์ที่มีรูปร่าง จิ้งจอกผสมงู มีลักษณะเป็นนรสิงห์ เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงหน้า บายนเทวลัย

จิ้งจอกเก้าหางของจีน[แก้]

เรื่องจิ้งจอกเก้าหางของจีน มีปรากฏอยู่ในตำนานเรื่อง ห้องสิน ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับไสยศาสตร์ และภูตผีปิศาจ
เรื่องราวมีอยู่ว่า พระเจ้าโจ้วหวาง (ติวอ๋อง) แห่งราชวงศ์ซางได้ไปสักการะเจ้าแม่หนี่วา ในวิหารของเจ้าแม่ ตามปกติ รูปเคารพเจ้าแม่จะมีผ้าแพรบางๆ กั้นใบหน้าอยู่ บังเอิญขณะนั้นมีลมพัดผ่านมา ทำให้ผ้าแพรเปิดออก โจ้วหวางได้เห็นใบหน้ารูปเคารพของเจ้าแม่หนี่วางดงามยิ่งนัก จึงออกปากมาว่า เจ้าแม่งดงามขนาดนี้ หากได้มาเป็นมเหสีน่าจะดี
เมื่อเจ้าแม่หนี่วาได้ยินดังนั้น จึงกริ้วมาก รับสั่งให้ปิศาจจิ้งจอกเก้าหาง ปิศาจพิณ และปิศาจไก่ มาทำให้โจ้วหวางเกิดความลุ่มหลงจนบ้านเมืองล่มสลายเพื่อเป็นการลงโทษ แต่อย่าให้ราษฎรต้องเป็นอันตราย
ในขณะนั้น มีนางงามนางหนึ่ง นามว่า ต๋าจี ลูกสาวของเจ้าเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งถูกส่งตัวเข้าวังเพื่อเป็นพระสนมของโจ้วหวาง ต๋าจี เป็นหญิงสาวที่มีรูปโฉมโนมพรรณงดงามมาก แต่หญิงงามมักอาภัพนัก จิ้งจอกเก้าหางได้แอบลอบฆ่าต๋าจี และสวมรอยเป็นต๋าจีเสียเองเพื่อลักลอบเข้าวัง
เมื่อโจ้วหวางได้พบต๋าจีก็รู้สึกพึงพอใจในตัวต๋าจีเป็นอย่างมาก เนื่องจากต๋าจีมีรูปโฉมงดงามราวกับเจ้าแม่หนวี่วา กิริยาวาจาไพเราะอ่อนหวานราวกับเทพธิดามาแต่สรวงสวรรค์ชั้นฟ้า ยากที่จะหาหญิงใดในแผ่นดินเสมอเหมือน จิ้งจอกเก้าหางจึงได้เริ่มการทำให้โจ้วหวางลุ่มหลงในตัวนาง ซึ่งไม่ได้เป็นการยากเย็นกระไรเลย เพราะนอกจากมีความงดงามเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยังสามารถร้องเพลง และเล่นดนตรีได้ไพเราะ อีกทั้งร่ายรำได้งดงาม ทำให้โจ้วหวางนานวันก็ยิ่งลุ่มหลงนางจนถอนตัวไม่ขึ้น และนางก็ได้ส่งเสริมให้โจ้วหวางทำแต่เรื่องชั่วร้าย ฆ่าคนเหมือนผักเหมือนปลาอยู่เสมอมา
ในที่สุดจิ้งจอกเก้าหางในร่างตาจี๋ ก็ได้ยุให้โจ้วหวางสร้างหอสอยดาวขึ้น ยังความทุกข์ยาก และนำมาซึ่งความตายแก่ราษฎรจำนวนมากมายมหาศาลที่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานมาสร้างหอสอยดาวนี้
แต่ในที่สุด ปิศาจทั้งสามก็ถูก เจียงจื่อหยา ซึ่งได้ฝึกวิชาบนภูเขาจนกลายเป็นผู้วิเศษ ได้รับบัญชา เทียนมิ่ง นักรบจากสวรรค์ให้มาปราบทุกข์เข็ญของเหล่าราษฎร พร้อมทั้ง นาจาศิษย์เอก
ปิศาจทั้งสามถูกจับตัวไปให้เจ้าแม่หนวี่วา ตัดสินโทษ จิ้งจอกเก้าหางเห็นว่าตนสามารถทำงานที่เจ้าแม่มอบหมายให้ ทำไมจึงยังมีโทษอีก เจ้าแม่หนวี่วากล่าวว่าได้ใช้ให้ไปทำลายแต่เพียงโจ้วหวางเท่านั้น หาได้สั่งให้ไปเข่นฆ่าผู้คนมากมายเช่นนี้ไม่ การทำเกินกว่าคำสั่งแบบนี้จำต้องถูกลงโทษ ทั้งปิศาจพิณ และปิศาจไก่จึงถูกลงโทษให้ตายตกไปตามกัน ส่วนจิ้งจอกเก้าหางนั้นหลบหนีการลงโทษไปได้

จิ้งจอกเก้าหางของญี่ปุ่น[แก้]

ในตำนานของญี่ปุ่นได้กล่าวถึงจิ้งจอกเก้าหางว่า เป็นปิศาจที่หลบหนีมาแฝงตัวอยู่ในราชสำนักของญี่ปุ่นในรัชสมัยของจักรพรรดิโทบะ หลังจากที่หลบหนีมาจากอินเดีย และจีนมาแล้ว โดยแฝงตัวมาในร่างของหญิงงามนามว่า ทามาโมะ มาเอะ พระสนมของจักรพรรดิโทบะ นางทำให้จักรพรรดิโทบะลุ่มหลงในความงามของนาง และสุขภาพของจักรพรรดิโทบะก็ทรุดโทรมลงทุกวัน จึงได้มีการอัญเชิญนักพรตจากหอองเมียวมาทำพิธีปัดรังควาน พบว่าในวังมีปิศาจจิ้งจอกเก้าหางสีทองแฝงตัวอยู่
เมื่อความแตก ทามาโมะ มาเอะ จึงได้คืนร่างเป็นจิ้งจอกสีทองตัวมหึมา มีเก้าหาง เหาะหลบหนีไปบนท้องฟ้า กองทหารของจักรพรรดิโทบะได้ไล่ตามไปจนถึงที่ราบสูงนาสุ และต่อสู้กับปิศาจจิ้งจอกเก้าหาง และสามารถสยบจิ้งจอกเก้าหางลงได้ กลายเป็นหินเซ็ทโชเซกิ ซึ่งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นมาจนปัจจุบันนี้
อนึ่งมักเกิดความสับสนในผู้ที่เริ่มต้นศึกษาซึ่งเอาตำนานของปีศาจจอกเก้าหางมารวมกับตำนานของเทพเจ้าแห่งจิ้งจอก อินาริ (稲荷, Inari หรือ Oinari) ซึ่งแท้จริงเป็นคนละอย่างกัน อินารินั้นเป็น คามิ (神, Kami) หรือเทพเจ้าองค์หนึ่งตามตำนานของศาสนาชินโตซึ่งเป็นศาสนาดั้งเดิมของญี่ปุ่น